สถิติพื้นฐาน

Posted on Updated on

สถิติพื้นฐาน

เรื่อง : การศึกษาเจตคติที่มีต่อมหาวิทยาลัยของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ผู้วิจัย : รองศาสตราจารย์อังคณา สายยศ

ปี : 2539

หน่วยงาน : ภาควิชาการวัดผลและวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

1. ค่าสถิติพื้นฐานที่เกี่ยวกับการวัดเจตคติต่อมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ผู้วิจัยได้นำผลจากการตอบแบบสอบถามวัดเจตคติต่อมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒไปวิเคราะห์หาค่าสถิติพื้นฐานด้านคะแนนเฉลี่ยและคะแนนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยวิเคราะห์รวมทุกด้าน และจำแนกแต่ละด้านของเจตคติ ตลอดจนจำแนกตามตัวแปรที่ศึกษา ดังตาราง 2 ถึง ตาราง 6 ดังนี้

ตาราง 2 ค่าสถิติพื้นฐานของการวัดเจตคติที่มีต่อมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำแนกตามวิทยาเขตและรวมทั้งสองวิทยาเขต

เจตคติ

ประสานมิตร

ภาคใต้

รวม

 

sd

 

sd

 

sd

ด้านการเรียนการสอน
ด้านอาจารย์ผู้สอน
ด้านผู้บริหาร
ด้านอาคารสถานที่
ด้านการบริการ

2.5815
2.8765
2.6115
2.1145
2.2965

0.3810
0.4220
0.5380
0.4465
0.4775

2.6565
2.8970
2.7385
2.2635
2.1285

0.3620
0.3835
0.4785
0.4775
0.4645

2.5985
2.8810
2.6290
2.1485
2.2585

0.3780
0.4135
0.5275
0.4575
0.4795

จากตาราง 2 เมื่อพิจารณาคะแนนเฉลี่ยปรากฏว่า นิสิตประสานมิตรทั้งหมดมีเจตคติต่อมหาวิทยาลัยอยู่ระหว่างคะแนน 2.1145 ถึง 2.8765 หรืออยู่ในมาตรการวัดประมาณ 2 ถึง 3 นั่นคือนิสิตประสานมิตรมีเจตคติต่อมหาวิทยาลัยอยู่ในเกณฑ์น้อยถึงดี โดยมีเจตคติที่อยู่ในเกณฑ์มากหรือดีคือด้านอาจารย์ ผู้บริหาร และการเรียนการสอน ตามลำดับ สำหรับนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒภาคใต้นั้น มีเจตคติอยู่ระหว่างคะแนน 2.1285 ถึง 2.8970 หรืออยู่ในมาตรการวัดประมาณ 2 ถึง 3 เช่นเดียวกับวิทยาเขตประสานมิตร โดยมีเจตคติอยู่ในเกณฑ์ดีคือด้านอาจารย์ ผู้บริหาร และการเรียนการสอน ตามลำดับ และเจตคติอยู่ในเกณฑ์ไม่ดีคือ ด้านการบริการ และด้านอาคารสถานที่ เมื่อพิจารณารวมทั้งสองวิทยาเขตก็ปรากกว่า ได้ผลเช่นเดียวกัน คือมีคะแนนเจตคติต่อมหาวิทยาลัยอยู่ระหว่าง 2.1485 ถึง 2.8810 โดยมีเจตคติที่ดีในด้านอาจารย์ ผู้บริหารและการเรียนการสอน ตามลำดับ และมีเจตคติที่ไม่ไดีในด้านการบริการและอาคารสถานที่ และเมื่อพิจารณาเจตคติต่อมหาวิทยาลัยรวมทุกด้านแล้ว ไม่ว่าจะเป็นวิทยาเขตประสานมิตรหรือวิทยาเขตภาคใต้ จะมีเจตคติต่อมหาวิทยาลัยอยู่ในเกณฑ์ดี คือมีคะแนนประมาณ 2.5 คะแนน ซึ่งอยู่ในมาตราที่มีเจตคติที่ดีต่อมหาวิทยาลัย

สำหรับการกระจายของคะแนนของข้อมูลนั้นจะพิจารณาจากค่าคะแนนเบี่ยงเบนมาตรฐานมาตรฐาน ซึ่งมีค่าอยู่ระหว่าง 0.3620 ถึง 0.5380 นั่นคือมีค่าอยู่ประมาณ 0.3 ถึง 0.5 ทุกด้านและรวมทุกด้าน แสดงว่าคะแนนข้อมูลมีการกระจายน้อย นั่นคือกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะมีเจตคติต่อมหาวิทยาลัยใกล้เคียงกัน

ตาราง 3 ค่าสถิติพื้นฐานของการวัดเจตคติที่มีต่อมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำแนกตามวิทยาเขตและระดับชั้นเรียน

ระดับชั้น

เจตคติ

ประสานมิตร

ภาคใต้

 

sd

 

sd

ปริญญาตรี

ด้านการเรียนการสอน
ด้านอาจารย์ผู้สอน
ด้านผู้บริหาร
ด้านอาคารสถานที่
ด้านการบริการ

2.4560
2.7860
2.5505
2.0810
2.2350

0.3315
0.3895
0.5385
0.4425
0.4875

2.6735
2.9405
2.7500
2.2855
2.1445

0.3535
0.3440
0.4755
0.4905
0.4665

รวม

2.4221

0.3288

2.5600

0.3155

บัณฑิตศึกษา

ด้านการเรียนการสอน
ด้านอาจารย์ผู้สอน
ด้านผู้บริหาร
ด้านอาคารสถานที่
ด้านการบริการ

2.7655
3.0105
2.7040
2.1640
2.3865

0.3750
0.4335
0.5255
0.4485
0.4500

2.5420
2.6050
2.6640
2.1190
2.0265

0.4000
0.5005
0.5045
0.3585
0.4440

รวม

2.6058

0.3011

2.3823

0.3542

จากตาราง 3 เมื่อพิจารณาคะแนนเฉลี่ยของเจตคติต่อมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒในวิทยาเขตประสานมิตร และวิทยาเขตภาคใต้ของแต่ละด้านและรวมทุกด้านของเจตคติแล้วพบว่า ทั้งนิสิตระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษามีคะแนนอยู่ระหว่าง 2.0810 ถึง 2.7860 ในระดับปริญญาตรีกับ 2.1640 ถึง 3.0105 ในระดับบัณฑิตศึกษาของวิทยาเขตประสานมิตร และ 2.1445 ถึง 2.9405 ในระดับปริญญาตรี กับ 2.0265 ถึง 2.6050 ในระดับบัณฑิตศึกษาของวิทยาเขตภาคใต้ แสดงว่าทั้งสองวิทยาเขตต่างมีเจตคติต่อมหาวิทยาลัยตั้งแต่ระดับน้อยคือไม่ดี ถึงระดับมากคือดี โดยวิทยาเขตประสานมิตรทั้งระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษามีเจตคติที่ดีต่อมหาวิทยาลัยคือด้านอาจารย์ ผู้บริหารและการเรียนการสอน ตามลำดับ และเจตคติที่ไม่ดีต่อมหาวิทยาลัยคือด้านอาคารสถานที่ และการบริการ ตามลำดับ เช่นเดียวกับนิสิตในวิทยาเขตภาคใต้ทั้งระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษามีเจตคติที่ดีต่อมหาวิทยาลัยคือด้านอาจารย์ ผู้บริหารและการเรียนการสอน ตามลำดับ ส่วนเจตคติที่ไม่ดีต่อมหาวิทยาลัยนั้นคือด้านการบริการ น้อยที่สุด และจึงเป็นด้านอาคารสถานที่ แต่เมื่อพิจารณารวมทุกด้านทั้งสองวิทยาเขตในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา มีเจตคติต่อมหาวิทยาลัยอยู่ในระดับคะแนน 2.3823 ถึง 2.6058 โดยนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาของวิทยาเขตประสานมิตรมีเจตคติที่ดีสูงที่สุด รองลงมาคือนิสิตระดับปริญญาตรีของวิทยาเขตภาคใต้ ส่วนการมีเจตคติที่ไม่ดีต่อมหาวิทยาลัยมากที่สุดคือระดับบัณฑิตศึกษาของวิทยาเขตภาคใต้ แล้วจึงเป็นปริญญาตรีของวิทยาเขตประสานมิตร

สำหรับการกระจายของคะแนนของข้อมูลนั้นจะพิจารณาจากค่าคะแนนเบี่ยงเบนมาตรฐานมาตรฐาน ซึ่งมีค่าอยู่ระหว่าง 0.3315 ถึง 0.5385 แสดงว่ามีการกระจายคะแนนน้อย นั่นคือกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะมีเจตคติต่อมหาวิทยาลัยใกล้เคียงกัน


ตัวอย่างที่ 2

เรื่อง : การพัฒนาโมเดลลิสเรลในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน

ผู้วิจัย : นางเอื้อมพร หลินเจริญ

ปี : 2539

หน่วยงาน : ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ตอนที่ 1 การนำเสนอตารางค่าสถิติพื้นฐาน

1.2 ตารางค่ามัชฌิมเลขคณิต ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (sd) ค่าความเบ้ (Skewness) และค่าความโด่ง (Kurtosis) ของตัวแปรสังเกตได้ที่ใช้ในการศึกษาโมเดลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะทางวิทยาศาสตร์

ตาราง 2 ค่ามัชฌิมเลขคณิต ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (sd) ค่าความเบ้ (Skewness) และค่าความโด่ง (Kurtosis) ของตัวแปรสังเกตได้ที่ใช้ในการศึกษาโมเดลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะทางวิทยาศาสตร์

ตัวแปร

คะแนนเต็ม

 

sd

Skewness

kurtosis

กลุ่มตัวแปรคุณลักษณะทางวิทยาศาสตร์ก่อนเรียน

ความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

ความสามารถในการนำความรู้ไปใช้

ความสามารถด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

เจตคติเชิงวิทยาศาสตร์


20
20
20
20


11.59
9.9
9.6
13.62


3.54
4.81
2.90
1.69


-0.03
0.32
7.71
2.72


-0.39
0.90
14.71
14.42

กลุ่มตัวแปรคุณลักษณะทางวิทยาศาสตร์หลังเรียน

ความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

ความสามารถในการนำความรู้ไปใช้

ความสามารถด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

เจตคติเชิงวิทยาศาสตร์


20
20
20
20


14.10
13.48
12.49
14.09


3.41
4.17
2.81
1.78


-0.57
0.09
-0.55
2.21


-0.29
-0.54
-0.21
10.64

กลุ่มตัวแปรลักษณะนักเรียน

ความสามารถเชิงเหตุผล

ลักษณะนิสัยในการเรียน

พื้นฐานความรู้เดิม


15
25
4


10.70
16.68
2.33


1.89
1.41
0.90


-0.08
0.12
0.09


0.46
0.58
-6.39

กลุ่มตัวแปรสภาพแวดล้อมทางครอบครัว

ระดับการศึกษาของบิดามารดา

การสนับสนุนและส่งเสริมทางการเรียน

ฐานะทางเศรษฐกิจ


7
20
20


5.28
14.15
15.83


1.41
2.15
2.75


1.49
0.23
0.56


0.94
-1.08
0.15

จากตารางแสดงค่าสถิติพื้นฐานของตัวแปรสังเกตได้ในกลุ่มตัวอย่างแฝงคุณลักษณะทางวิทยาศาสตร์ก่อนเรียน พบว่า ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าความเบ้ ความโด่งของตัวแปรแต่ละตัวแตกต่างกัน โดยตัวแปรความรู้ความเข้าใจในพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์มีค่ามัชฌิมเลขคณิตสูงกว่าตัวแปรตัวอื่น ๆ ค่าโค้งเบ้ทางลบ แสดงว่า คนส่วนใหญ่จะมีคะแนนสูงกว่าค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนตัวแปรความสามารถในการนำความรู้ไปใช้ ความสามารถด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และตัวแปรเจตคติเชิงวิทยาศาสร์ มีค่าโค้งเบ้ทางบวก โดยเฉพาะตัวแปรความสามารถด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีค่าโค้งเบ้ทางบวกสูงมากแสดงว่าคนส่วนใหญ่มีคะแนนต่ำกว่าค่ามัชฌิมเลขคณิต และลักษณะการแจกแจงของข้อมูลไม่เป็นโค้งปกติ

เมื่อพิจารณากลุ่มตัวแปรแฝงคุณลักษณะทางวิทยาศาสตร์หลังเรียน พบว่า ค่ามัชฌิมเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าความเบ้ ความโด่งของตัวแปรแต่ละตัวไม่แตกต่างกันมากนัก โดยส่วนใหญ่จะมีค่าโค้งเบ้ทางลบ แสดงว่าคนส่วนใหญ่จะมีคะแนนสูงกว่าค่ามัชฌิมเลขคณิต ยกเว้นตัวแปรเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์เพียงตัวเดียวมีค่าโค้งเบ้ทางบวก

ในกลุ่มตัวแปรแฝงคุณลักษณะนักเรียน ตัวแปรสังเกตได้ในกลุ่มตัวแปรแฝงนี้มีค่ามัชฌิมเลขคณิตที่ใกล้เคียงกัน การแจกแจงของตัวแปรเกือบเป็นโค้งปกติ สำหรับตัวแปรสังเกตได้ ระดับพื้นความรู้เดิมนั้นที่มีค่ามัชฌิมเลขคณิตต่ำเพราะผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยซึ่งผู้วิจัยได้ให้คะแนนเต็มเพียง 4 เท่านั้น

ในกลุ่มตัวแปรสภาพแวดล้อมทางครอบครัว ค่ามัชฌิมเลขคณิตของตัวแปรมีลักษณะที่ใกล้เคียงกัน การแจกแจงของตัวแปรเกือบเป็นโค้งปกติ ยกเว้นตัวแปรระดับการศึกษาของบิดามารดา ซึ่งวัดจากข้อคำถามเพียง 2 ข้อ ดังนั้นจึงทำให้ค่ามัชฌิมเลขคณิตมีค่าทางบวก แสดงว่าระดับการศึกษาของบิดามารดาของคนส่วนใหญ่อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ


ตัวอย่างที่ 3

เรื่อง : การเปรียบเทียบค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบความถนัดทางการเรียนคำนวณจากสูตรโอเมก้า, สูตรโอเมก้าดับบลิว, สูตรเซต้า และสูตรเซต้าเค ที่ใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบต่างวิธีกัน

ผู้วิจัย : เปรมฤทัย เลิศบำรุงชัย

ปี : 2544

หน่วยงาน : ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ตอนที่ 1 ค่าสถิติพื้นฐานของคะแนนแบบทดสอบความถนัดทางการเรียน

การวิเคราะห์ในตอนนี้ ผู้วิจัยได้นำคะแนนของแบบทดสอบความถนัดทางการเรียนจำนวน 3 ฉบับ ไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่าง นำผลมาคำนวณค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความโด่ง ค่าความเบ้ และค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย ดังแสดงในตาราง 2

ตาราง 2 ค่าสถิติพื้นฐานของคะแนนแบบทดสอบความถนัดทางการเรียน

แบบทดสอบ

จำนวนข้อ

(%)

SD

Ku

Sk

CV

ฉบับที่ 1
ฉบับที่ 2
ฉบับที่ 3

30
30
30

17.36 (57.86)
15.04 (50.13)
14.96 (49.87)

6.29
6.64
6.09

-.787
-.555
-.557

-.003
-.017
.087

36.23
44.15
40.71

ผลการวิเคราะห์ตามตาราง 2 พบว่า แบบทดสอบความถนัดทางการเรียนด้านภาษามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 17.36 คิดเป็นร้อยละ 57.86 ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 6.29 ค่าความโด่งเท่ากับ -.787 ค่าความเบ้เท่ากับ -.003 และค่าสัมประสิทธิ์การกระจายเท่ากับ 36.23 แบบทดสอบความถนัดทางการเรียนด้านคณิตศาสตร์มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 15.04 คิดเป็นร้อยละ 50.13 ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 6.64 ค่าความโด่งเท่ากับ -.555 ค่าความเบ้เท่ากับ -.017 และค่าสัมประสิทธิ์การกระจายเท่ากับ 44.15 แบบทดสอบความถนัดทางการเรียนด้านเหตุผลมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 14.96 คิดเป็นร้อยละ 49.87 ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 6.09 ค่าความโด่งเท่ากับ -.557 ค่าความเบ้เท่ากับ .087 และค่าสัมประสิทธิ์การกระจายเท่ากับ 40.71